ศิลปะ


ความหมายของทัศนศิลป์     
       
       
                                       วามรู้เพิ่มเติมทัศนศิลป์

        ทัศนศิลป์ หมายถึง ศิลปะที่รับรู้ด้วยประสาทสัมผัสทางตา ศิลปะที่มองเห็น เมื่อพิจารณาความหมายที่มีผู้นิยามไว้ จะพบว่าการรับรู้เรื่องราว อารมณ์ ความรู้สึกของงานทัศนศิลป์นั้น จะต้องอาศัยประสาทตาเป็นสำคัญ  นั่นคือตาจะรับรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่นำมาประกอบเป็นงานทัศนศิลป์ได้แก่ เส้น รูปร่าง รูปทรง สี แสงเงา และพื้นผิว เป็นต้น โดยศิลปะจะนำสิ่งต่างๆ เหล่านี้มาสร้างสรรค์ผลงานด้วยวิธีการเขียนภาพระบายสีบ้าง ปั้นและสลักบ้างหรืองานโครงสร้างเป็นต้น
          การสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ให้เกิดคุณค่าทางศิลปะได้นั้นขึ้นอยู่กับความสามารถทักษะและความคิดของศิลปินแต่ละคน งานทัศนศิลป์ที่ปรากฏให้เห็นสามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ                                                              ทัศนศิลป์ 2มิติ ได้แก่ ผลงานการเขียนภาพระบายสี                                                              ทัศนศิลป์ 3  มิติ ได้แก่ ผลงานประติมากรรม  สถาปัตยกรรม  
        ขอบข่ายของงานทัศนศิลป์
            ทัศนศิลป์แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท ตามสื่อวัสดุที่ใช้ในการสร้างงาน ได้แก่จิตรกรรม ภาพพิมพ์ ประติมากรรมและสถาปัตยกรรม จิตรกรรม (Painting) หมายถึง ผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการขีดเขียน  การวาด และระบายสี เพื่อให้เกิดภาพ เป็นงานศิลปะที่มี 2 มิติ เป็นรูปแบบไม่มีความลึกหรือนูนหนา แต่สามารถเขียนลวงตาให้เห็นว่ามีความลึกหรือนูนได้ ความงามของจิตรกรรมเกิดจากการใช้สีในลักษณะต่างๆ กัน      องค์ประกอบสำคัญของงานจิตรกรรม คือ    1. ผู้สร้างงาน หรือ ผู้วาด เรียกว่า จิตรกรร 
    2. วัสดุที่ใช้รองรับการวาด เช่น กระดาษ ผ้า ผนัง ฯลฯ 
    3.  เป็นสิ่งที่แสดงออกถึงเนื้อหา เรื่องราวเกี่ยวกับผลงาน 
            งานจิตรกรรมเป็นงานศิลปะที่เก่าแก่ดั้งเดิมของมนุษย์ เริ่มตั้งแต่การขีดเขียนบนผนังถ้ำ บนร่างกาย บนภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ จนพัฒนามาเป็นภาพวาดที่ใช้ประดับตกแต่งในปัจจุบัน การวาดภาพเป็นพื้นฐานของงานศิลปะทุกชนิด ผู้สร้างสรรค์งานจิตรกรรม เรียนว่า จิตรกร (Painter)
     งานจิตรกรรม แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ   
    1. การวาดเส้น (Drawing)          เป็นการวาดภาพโดยใช้ปากกา หรือดินสอ ขีดเขียนลงไป บนพื้นผิววัสดุรองรับเพื่อให้เกิภาพ การวาดเส้น คือ การขีดเขียนให้เป็นเส้นไม่ว่าจะเป็นเส้นเล็ก หรือ เส้นใหญ่ๆ มักมีสีเดียว แต่การวาดเส้นไม่ได้จำกัดที่จะต้องมีสีเดียว อาจมีสีหลายๆสีก็ได้ การวาดเส้น จัดเป็นพื้นฐานที่สำคัญของงานศิลปะแทบทุกชนิด
     2. การระบายสี (Painting)  
            เป็นการวาดภาพโดยการใช้พู่กัน หรือแปรง หรือวัสดุอย่างอื่น  มาระบายให้เกิดเป็นภาพ การระบายสี ต้องใช้ทักษะการควบคุมสีและเครื่องมือมากกว่าการวาดเส้น ผลงานการระบายสีจะสวยงาม เหมือนจริง และสมบูรณ์แบบมากกว่าการวาดเส้น
            ลักษณะของภาพจิตรกรรม       งานจิตรกรรม ที่นิยมสร้างสรรค์ ขึ้นมีหลายลักษณะ ดังนี้ คือ
     1. ภาพทิวทัศน์ (Landscape Painting)
            เป็นภาพที่แสดงความงาม หรือความประทับใจในความงาม ของธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อมของศิลปินผู้วาด  ภาพทิวทัศน์แบ่งเป็นลักษณะต่าง ๆ ได้แก่       1.1 ภาพทิวทัศน์ผืนน้ำ หรือ ทะเล (Seascape )
        1.2 ภาพทิวทัศน์พื้นดิน (Landscape)
        1.3  ภาพทิวทัศน์ของชุมชนหรือเมือง (Cityscape)
    2. ภาพคน(Figure Painting) 
            เป็นภาพที่แสดงกิริยาท่าทางต่างๆ ของมนุษย์แบบเต็มตัวโดยไม่เน้นแสดงความเหมือนของใบหน้า
     3. ภาพคนเหมือน (Potrait Painting)             เป็นภาพที่แสดงความเหมือนของใบหน้า ของคนๆ ใดคนหนึ่ง

    4. ภาพสัตว์ ( Animals Figure Painting)  
            แสดงกิริยาท่าทางของสัตว์ในลักษณะต่าง ๆ
            ศิลปะภาพพิมพ์ 
          เป็นผลงานทัศนศิลป์ลักษณะ 2 มิติ คือมีความกว้างและความยาว แสดงมิติที่สามสร้างขึ้นโดยการประกอบกันของทัศนธาตุ เช่น เส้นสีแสงเงา รูปร่าง รูปทรง พื้นผิว สี ฯลฯซึ่งเป็นมิติลวงตาคล้ายกับผลงานจิตรกรรม แต่แตกต่างกันที่ภาพพิมพ์ใช้การถ่ายทอดสีจากแม่พิมพ์ลงบนระนาบรองรับแทนที่จะเป็น การขูด  ขีด เขียน ป้าย หลด สลัดฯบนระนาบรองรับโดยตรง ในภาษาอังกฤษเรียก Printmaking หรือ Graphic Arts ซึ่งมีความหมายเดียวกันคือ” ศิลปะภาพพิมพ์ ”
          ประติมากรรม (Sculpture) หมายถึง ผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการสร้างรูปทรง 3 มิติ มีปริมาตร มีน้ำหนักและกินเนื้อที่ในอากาศ โดยการใช้วัสดุชนิดต่างๆ วัสดุที่ใช้สร้างสรรค์งานประติมากรรม จะเป็นตัวกำหนดวิธีการสร้างผลงาน ความงามของงานประติมากรรม  เกิดจากการแสงและเงาที่เกิดขึ้นในผลงานการสร้างงานประติมากรรมทำได้ 4 วิธี  คือ          1. การปั้น (Casting) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุที่เหนียว  อ่อนตัว และยึดจับตัวกันดี  วัสดุที่นิยมนำมาใช้ปั้น ได้แก่ ดินเหนียว ดินน้ำมัน ปูน ขี้ผึ้ง กระดาษ หรือ ขี้เลื่อยผสมกาว  เป็นต้น
        2.การแกะสลัก (Carving)เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุที่แข็ง เปราะโดยอาศัยเครื่องมือ วัสดุที่นิยมนำมาแกะ ได้แก่ เทียน ไม้  หิน กระจก ปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น
        3. การหล่อ (Molding) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุที่หลอมตัวได้และกลับแข็งตัวได้ โดยอาศัยแม่พิมพ์  ซึ่งสามารถทำให้เกิดผลงานที่เหมือนกันทุกประการตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไป วัสดุที่นิยมนำมาใช้หล่อ ได้แก่ โลหะสำริด ปูน ขี้ผึ้ง  เรซิ่น พลาสติกฯลฯ
         4. การประกอบขึ้นรูป (Construction)  เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ  โดยนำวัสดุต่าง ๆ มาประกอบเข้าด้วยกัน และยึดติดกันด้วยวัสดุต่างๆ
        ประเภทของงานประติมากรรม            1.ประติมากรรมแบบนูนต่ำ (Bas  Relief ) เป็นรูปที่เป็นนูนขึ้นมาจากพื้นหรือมีพื้นหลังรองรับ มองเห็นได้ชัดเจนเพียงด้านเดียว คือด้านหน้า มีความสูงจากพื้นไม่ถึงครึ่งหนึ่งของรูปจริง ได้แก่ รูปนูนแบบเหรียญ รูปนูนที่ใช้ประดับตกแต่งภาชนะ หรือประดับตกแต่งอาคารทาง สถาปัตยกรรมโบสถ์ วิหารต่างๆ พระเครื่องบางชนิด            2.ประติมากรรมแบบนูนสูง  (High  Relief ) เป็นรูปต่างๆในลักษณะเช่นเดียวกับแบบ นูนต่ำ แต่มีความสูงจากพื้นตั้งแต่ครึ่งหนึ่งของรูปจริงขึ้นไป ทำให้เห็นลวดลายที่ลึก ชัดเจน และเหมือนจริงมากกว่าแบบนูนต่ำและใช้งานแบบเดียวกับแบบนูนต่ำ            3.ประติมากรรมแบบลอยตัว (Round Relief ) เป็นรูปต่างๆ ที่มองเห็นได้รอบด้านได้แก่ พระพุทธรูป เทวรูป รูปตามคตินิยม รูปบุคคลสำคัญ รูปสัตว์ รูปเคารพต่างๆ ภาชนะต่างๆ ฯลฯ
             สถาปัตยกรรม (Architecture)  หมายถึง  ผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยสิ่งก่อสร้าง อาคาร ที่อยู่อาศัยต่างๆ  การวางผังเมือง  การจัดผังบริเวณการตกแต่งอาคาร การออกแบบก่อสร้าง ซึ่งเป็นงานศิลปะ ที่มีขนาดใหญ่  และเป็นงานศิลปะที่มีอายุยืนยา             สถาปัตยกรรม เป็นวิธีการจัดสรรบริเวณที่ว่างให้เกิดประโยชน์ใช้สอยตามความต้องการ   ที่นำมาเพื่อตอบสนองความต้องการในด้านวัตถุและจิตใจ  มีลักษณะเป็นสิ่งก่อสร้างขึ้นอย่างงดงาม  สะดวกในการใช้งานและมั่นคงแข็งแรง
            สถาปัตยกรรมแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ            1. สถาปัตยกรรมเปิด (Open  Architecture) เป็นสิ่งก่อสร้างที่ประชาชนสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น อาคารบ้านเรือน โรงแรม โบสถ์ ฯลฯ  จึงต้องจัดสภาพต่างๆให้เอื้ออำนวยต่อการอยู่อาศัยของมนุษย์ เช่น แสงสว่าง และการระบายอากาศ

              2. สถาปัตยกรรมปิด (Closing  Architecture) เป็นสิ่งก่อสร้างอันเนื่องมาจากความเชื่อถือต่างๆ จึงไม่ต้องการให้คนเข้าไปอาศัยอยู่  เช่น สุสาน อนุสาวรีย์ เจดีย์ต่างๆ สิ่งก่อสร้างแบบนี้จะประดับประดาให้มีความงามมากน้อยตามความศรัทธาเชื่อถือ
สถาปัตยกรรมเป็นงานทัศนศิลป์ที่คงสภาพอยู่ได้นานที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น