วันจันทร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ส่งงานการถ่ายรูปสินค้า

ส่งงานการถ่ายรูปสินค้า



ภาพ : ผ้าคลุมมุสลิม
โดย นางสาวภาสินี  หมาดง๊ะ
เลขที่ 22  ม.6/1 โรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์ จ.สตูล

 

วันอังคารที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2560

โครงงานวิทยาาสตร์

            
โครงงานการกำจัดเมือกปลาดุก


        โครงงานเรื่องจัดการปลาดุกให้หมดเมือก ได้ทำเกี่ยวกับการกำจัดเมือกของปลาดุก คณะผู้จัดทำเล็งเห็นว่าผู้ประกอบอาหารส่วนใหญ่มีปัญหากับเมือกของปลาดุก ซึ่งผู้ประกอบอาหารส่วนใหญ่มักล้างเมือกด้วยน้ำเปล่าแบบปกติบางทีอาจจะไม่ค่อยออก จึงส่งผลทำให้เกิดกลิ่นคาวในอาหาร เกิดปัญหาทำให้รับประทานอาหารไม่มีความสุข จึงต้องแก้ปัญหาเพื่อประโยชน์แก่ผู้ประกอบอาหาร คณะผู้จัดทำจึงมีแนวคิดที่จะนำขี้เถ้า น้ำมะนาว แป้งมัน เกลือแกง และน้ำสะอาดมาช่วยในการกำจัดเมือกของปลาดุก โดยนำมาทดสอบศึกษาประสิทธิภาพและเปรียบเทียบของขี้เถ้า น้ำมะนาว แป้งมัน เกลือแกง และน้ำในการกำจัดเมือกของปลาดุก คณะผู้จัดทำจึงสรุปได้ว่า ขี้เถ้าสามารถกำจัดเมือกออกหมดและเนื้อปลายังคงสภาพเหมือนเดิม น้ำมะนาวก็สามารถกำจัดเมือกออกเล็กน้อยแต่เนื้อปลาจะดูไม่สด แป้งมันและเกลือแกงก็สามารถกำจัดเมือกออกเล็กน้อยและเนื้อปลาเปลี่ยนเล็กน้อย ส่วนน้ำสะอาดจะไม่สามารถกำจัดเมือกออกได้และเนื้อปลายังคงมีสภาพเหมือนเดิม 
          โครงงานนี้ได้ผ่านรอบคัดเลือก จากนั้นก็ไปแข่งต่อที่โรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย จังหวัดสูล

กีฬาสี ม.6



กีฬาสี ม.6



            เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความสามัคคี การทำงานเป็นทีม ซึ่งม.6 เป็นปีสุดท้ายของชีวิตมัธยม และได้อยู้ครบทั้ง 4 สี แต่สีฟ้าเป็นสีที่อยู่ 3 ปี 





บูรณาการ ม.5



บูรณาการ ม.5







                    บูรณาการที่เกาะลิดี จังหวัดสตูล เป็นกิจกรรมบูรณาการในหัวเรื่อง "สำนึกรักบ้านเกิด"




เทศกาล งานประเพณี สตูล

เทศกาล งานประเพณี สตูล

1.งานมหกรรมเทศกาลโรตีของดีเมืองสตูล
เป็นการแสดงและจำหน่ายโรตีของจังหวัดสตูล ที่มีหลากหลายประเภท โดยเฉพาะการจัดทำ

โรตีลอยฟ้า การโชว์ชาชัก โดยจะจัดเดือนมกราคมของทุกปี
2.งานแข่งขันว่าวประเพณีจังหวัดสตูล
จัดขึ้นเป็นประจำทุก ๆ ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และสร้างความสัมพันธ์

อันดี กับประเทศเพื่อนบ้านโดย จะจัดขึ้นในเดือน กุมภาพันธ ของทุกปี ณ บริเวณสนามบินสตูล 
ก่อนถึงเขตเทศบาลเมืองสตูลประมาณ 4 ก.ม.
3.งานแข่งขันการตกปลา
“ตะรุเตา - อาดัง ฟิชชิ่งคัพ” เป็นการแข่งขันตกปลาที่มีผู้เข้าร่วมแข่งขันทั้งในและต่างประเทศ

จำนวนมาก โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย มีการแห่ขบวนมัจฉา 
การประกวดหุ่นปลา และการแสดงศิลปพื้นบ้านของชาวสตูล จัดเดือนมีนาคมของทุกปี
4.งานวันข้าวโพดหวานอำเภอท่าแพ
เป็นงานประจำปีของอำเภอ ภายในงานมีการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรที่ขึ้นชื่อ คือ 

ข้าวโพดหวาน ซึ่งมีรสชาดหวานอร่อย จัดประมาณเดือนมีนาคมของทุกปี
5.งานวันเมาลิดกลางจังหวัดสตูล
เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อเป็นการรำลึกถึงหลักธรรมคำสอน และผลงานของท่านนบีมูฮัมมัด 

เพื่อเป็นการส่งเสริมสถาบันศาสนาอิสลามและเพื่อผนึกกำลังของพี่น้องมุสลิมในการร่วมกัน
แก้ปัญหาที่สำคัญของจังหวัด จัดเดือน พฤษภาคม ของทุกปี
6.งานประเพณีลอยเรือของชาวเลเกาะหลีเป๊ะ
ซึ่งทำกันปีละ 2 ครั้ง คือ ในเดือน 6 (พฤษภาคม) และเดือน 12 (พฤศจิกายน) โดยมี

จุดมุ่งหมายเพื่อลอยบาปและเป็นการเสี่ยงทายในการประกอบอาชีพ
7.งานวันจำปาดะและของดีเมืองสตูล
เป็นการแสดงสินค้าผลิตผลด้านการเกษตรโดยเฉพาะผลไม้ที่สำคัญของจังหวัด จัดเดือน 

กรกฎาคม ของทุกปี
8.งานมหกรรมอาหารจานเด็ดและของดีเมืองสตูล
เป็นงานแสดงฝีมือการทำอาหารพื้นบ้านของชาวสตูล ภายในงานมีอาหารจำหน่ายจำนวน

มากล้วนเป็นอาหารที่ขึ้นชื่อ ของจังหวัดสตูล โดยจะจัดงานประมาณเดือนสิงหาคมของทุกปี
9.งานประเพณีถือศีลกินเจ
เป็นงานประเพณีของคนไทยเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสตูล จัดขึ้นประมาณเดือนกันยายน

ของทุกปี ณ บริเวณศาลเจ้าโป้เจ้เก้ง อำเภอเมืองสตูล
10.งานเปิดฤดูกาลท่องเที่ยวทางทะเลจังหวัดสตูล
มีเป้าหมายหลักเพื่อท่องเที่ยว ณ อุทยานแห่งชาติตะรุเตา ที่มีหาดสวย น้ำใส หาดทรายขาว
 เช่น เกาะอาดัง เกาะหลีเป๊ะ โดยเฉพาะเกาะตะรุเตา ซึ่งเป็นแหล่งประวัติศาสตร์ที่สำคัญ 
ชมการแข่งขันหนีนรกตะรุเตา ชมการแสดงแสง สี เสียง และวิถีชีวิตของชาวเล จัด
เดือนธันวาคมของทุกปี

http://www.baanjomyut.com/76province/south/satun/costom.html

เพลง








เนื้อเพลงขวัญสตูล                                                       
                                                                         
                                                         โอ้นครีสโดยบำบังสังการา                               
                                                    สตูลพาราคือเทพเทวามหาสมุทรไทย
                                                       เหล่าอิสลามรวมชาวพุทธสุดซึ้งใจ
                                                      จะประกอบการใด รักรวมใจกันสามัคคี 
                                                        เกาะตะรุเตา อาดังยังงามล้ำเกินชม 
                                                   ดุจดังเมืองพรหม และสุดงาม สำคำชมมากมี 
                                                        หมู่เกาะหลีเป๊ะชายทะเลหาดสวยดี
                                                        ยังเสน่ห์เมืองนี้ล้วนคนมีน้ำใจแสนงาม 
                                                        ไก่ดำ จำปาดะ เมืองพระและอิสลาม
                                                        ทั่วถิ่นเขตคามนั้นมีสุเหร่าวัดวาอาราม 
                                                    พวกเราทำตามผู้นำหลักเมือง สตูลสมนาม
                                                        เจริญทุกยามพัฒนาเกษตรสมบูรณ์ 
                                                จากทะเลบัน บันดาลดลใจรักมั่นคง คู่ขวัญอนงค์
                                                                จะฝากมาลัยดอกไม้ให้คุณ 
                                                        จะวอนบนบานโต๊ะหยงกง ด้วยผลบุญ 
                                                
    สิ่งศักดิ์สิทธิ์เกื้อหนุน รักสตูลอย่าร้างเลือน
https://sites.google.com/site/satuntraveldd/khxmul-canghwad-stul/phelng-praca-canghwad-stul

อาหารของจังหวัดสตูล

ชาชัก


ของขึ้นชื่อของสตูล และเป็นจุดเริ่มต้นของชาชักแห่งแรกในไทย โดยคุณวรรณา แช่ตัน เจ้าของร้าน “ขอบคุณสตูล” คิดหาเครื่องดื่มที่เหมาะทานคู่กับโรตี ฝึกชงชาชักที่ได้ดูและชิมในมาเลเซีย มาพัฒนาสูตรในแบบของตนเอง ชาชักสตูลนิยมทานคู่กับโรตีแกงแพะ แกงไก่ หรือแกงเนื้อ เพิ่มรสชาติในการดื่มชาชักให้กลมกล่อมยิ่งขึ้น

ข้าวเหนียวอัดหรือเหนียวเขียว

เป็นขนมพื้นเมืองของชาวจีนในสตูล โดยเฉพาะใน ต.ฉลุง และ ต.พิมาน อ.เมืองสตูล เป็นข้าวเหนียวผสมน้ำดอกอัญชัญนึ่งกับ กะทิ เกลือ และสารส้ม แล้วอัดข้าวเหนียวลงในลังไม้ให้แน่น จนได้ข้าวเหนียวอัดตามขนาดของลังไม้ นำมาหั่นหรือตัดเป็นชิ้นตามที่ต้องการ รับประทานกับสังขยา

แกงตอแมะห์

มาจากภาษามลายูว่า ตูมิห์ (TUMTH) หมายถึง การผัดเครื่องแกงคลุกเคล้าให้เข้ากับน้ำกะทิสดหรือน้ำมัน เป็นอาหารพื้นเมืองของชาวมุสลิม ในมาเลเซีย และมาเป็นอาหารพื้นเมืองชาวสตูล รับประทานกับข้าวมัน หรือโรตี ทำจาก ปลา, กะทิ, มะขามเปียก, ขมิ้น, พริกแห้ง, หอมแดง, เครื่องเทศและสมุนไพรอีกหลายชนิด

ปัสมอส

อาหารท้องถิ่น เสน่ห์ของเมืองสตูล เนื่องจากสตูลนั้น ร้อยละ 80 นับถือศาสนาอิสลาม วัฒนธรรมการกินจึงเป็นอาหารพื้นถิ่นที่ค่อนข้างหลากหลาย มีอาหารมากมายให้ได้ลิ้มลอง ต่อให้ยุคสมัยจะเปลี่ยนไปแต่รสนิยมการกินของคนสตูลก็ยังคงนิยมทานอาหารแบบท้องถิ่นอยู่ดี เราจึงเปลี่ยนบรรยากาศพาท่านผู้อ่านแวะทานอาหารท้องถิ่นที่คนสตูลนิยมทานกันมากและร้านที่จะพาไปนั้นรับรองได้ว่าเป็นที่รู้จักของชาวสตูลเป็นอย่างดี อาหารที่จะพาไปแนะนำนี้ชื่อทางภาษาถิ่นว่า “ปัสมอส” หรือภาษาไทยเรียกว่า “สลัดแขก” ประกอบด้วย ไก่ฉีก เนื้อแดง ไข่ต้ม แตงกวา กุ้งทอด ราดน้ำด้วย “กั๊ว” คล้ายๆกับน้ำพริกของขนมจีน ส่วนในด้านรสชาตินั้นทางทีมงานได้ลองชิมต้องยกนิ้วให้เลยคะ ว่าสมชื่อราคาคุยเลยทีเดียว เพราะรสชาติของน้ำกั๊วนั้นทั้งหวานทั้งมันกลมกล่อมเข้ากับเครื่องเคียงที่จัดตั้งเรียงรายอยู่ในจาน ด้านคุณค่าทางอาหารก็ครบสมบูรณ์แบบเลยทีเดียว คุณนอริยะ นิสาและ เจ้าของร้านโซเฟีย 1 เล่าให้ฟังว่า เปิดร้านขายอาหารมาเกือบ 30 ปีแล้ว ลูกค้านิยมสั่งปัสมอสมาทานทุกครั้ง ลูกค้าบอกว่ารสชาติปัสมอสของร้านโซเฟียจะแตกต่างกับร้านอื่น ในรสชาติซึ่งเป็นสูตรเฉพาะที่ได้มาจากบรรพบุรุษ คนสตูลถ้านึกอยากทานปัสมอสก็ต้องมาร้านโซเฟีย

http://27.254.38.19/~sipa017/index.php/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B9%E0%B8%A5

ประวัติจังหวัดสตูล

ประวัติจังหวัดสตูล


ประวัติ ความเป็นมาของจังหวัดสตูลในสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา และในสมัยกรุงศรีอยุธยาไม่ปรากฏหลักฐานกล่าวไว้ ณ ที่ใด สันนิษฐานว่าในสมัยนั้น ไม่มีเมืองสตูล คงมีแต่หมู่บ้านเล็ก ๆ กระจัดกระจายอยู่ตามที่ราบชายฝั่งทะเล

ใน สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สตูลเป็นเพียงตำบลหนึ่งอยู่ในเขตเมืองไทรบุรี ฉะนั้นประวัติความเป็นมาของจังหวัดสตูล จึงเกี่ยวข้องกับเรื่องราวของเมืองไทรบุรี ดังปรากฎในหนังสือพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒ ว่า "ตาม เนื้อความที่ปรากฏดังกล่าวมาแล้ว ทำให้เห็นว่าในเวลานั้น พวกเมืองไทรเห็นจะแตกแยกกันเป็นสองพวก คือ พวกเจ้าพระยาไทรปะแงรันพวกหนึ่ง และพวกพระยาอภัยนุราชคงจะนบน้อมฝากตัวกับเมืองนครศรีธรรมราช โดยเฉพาะเมื่อพระยาอภัยนุราชได้มาเป็นผู้ว่าราชการเมืองสตูล ซึ่งเขตแดนติดต่อกับเมืองนครศรีธรรมราช พวกเมืองสตูลคงจะมาฟังบังคับบัญชาสนิทสนมข้างเมืองนครศรีธรรมราชมากกว่า เมืองไทร แต่พระยาอภัยนุราชว่าราชการเมืองสตูลได้เพียง ๒ ปี ก็ถึงแก่อนิจกรรม ผู้ใดจะได้ว่าราชการเมืองสตูล ต่อมาในชั้นนั้นหาพบจดหมายเหตุไม่ แต่พิเคราะห์ความตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลัง เข้าใจว่าเชื้อพระวงศ์ของพระอภัยนุราช (ปัศนู) คงจะได้ว่าราชการเมืองสตูลและฟังบังคับบัญชาสนิทสนมกับเมืองนครศรีธรรมราช อย่างครั้งพระยาอภัยนุราชหรือยิ่งกว่านั้น"

เรื่อง เกี่ยวกับเมืองสตูลยังปรากฎในหนังสือพงศาวดารเมืองสงขลา แต่ข้อความที่ปรากฎบางตอนเกี่ยวกับชื่อผู้ว่าราชการเมืองสตูล ไม่ตรงกับพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ ประวัติเกี่ยวกับเมืองสตูลในการจัดรูปแบบการปกครองเมือง ตามระบอบมณฑลเทศาภิบาลว่า ในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รักษาเมืองไทรบรี เมืองเปอร์ลิส และเมืองสตูลเป็นมณฑลเทศาภิบาล เรียกว่า "มณฑลไทรบุรี" โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาไทรบุรีรามภักดี เจ้าพระยาไทรบุรี (อับดุลฮามิต) เป็นข้าราชการเทศาภิบาลมณฑลไทรบุรี เมืองสตูลได้แยกจากเมืองไทรบุรีอย่างเด็ดขาด ตามหนังสือสัญญาไทยกับอังกฤษเรื่องปักปันเขตแดนระหว่างไทยกับสหพันธรัฐมาลา ยู ซึ่งลงนามกันที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม ร.ศ.๑๒๗ (พ.ศ. ๒๔๕๒) จากหนังสือสัญญานี้ยังผลให้ไทรบุรีและปลิสตกเป็นของอังกฤษ ส่วนสตูลคงเป็นของไทยสืบมาจนถึงปัจจุบัน

เมื่อ ปักปันเขตแดนเสร็จแล้ว ได้มีพระราชโองการโปรดให้เมืองสตูลเป็นเมืองจัตวารวมอยู่ในมณฑลภูเก็ต เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ร.ศ.๑๒๘ (พ.ศ. ๒๔๕๓)

ใน ปีพุทธศักราช ๒๔๗๕ ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย เมืองสตูลก็มีฐานะยกเป็นจังหวัดหนึ่งอยู่ในราชอาณาจักรไทยสืบต่อมาจนถึง กระทั่งทุกวันนี้

คำว่า"สตูล" มาจากคำภาษามาลายูว่า "สโตย" แปลว่ากระท้อน อันเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่ขึ้นอยู่ชุกชุมในท้องที่เมืองนี้ ซึ่งต่อมาได้รับการตั้งสมญานามเป็นภาษามาลายูว่า "นครสโตยมำบังสการา (Negeri Setoi Mumbang Segara) " หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า สตูล เมืองแห่งพระสมุทรเทวา  ดังนั้น "ตราพระสมุทรเทวา" จึงกลายเป็นตราหรือสัญลักษณ์ของจังหวัดมาตราบเท่าทุกวันนี้

จังหวัด สตูล แม้จะอยู่รวมกับไทรบุรีในระยะเริ่มแรกก็ตาม แต่จังหวัดสตูลก็เป็นจังหวัดที่มีดินแดนรวมอยู่ในประเทศไทยตลอดมา ระยะแรก ๆ จังหวัดสตูล แบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๒ อำเภอ กับ ๑ กิ่งอำเภอ คือ อำเภอมำบัง อำเภอทุ่งหว้า และกิ่งอำเภอละงู ซึ่งอยู่ในการปกครองของอำเภอทุ่งหว้า ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ได้เปลี่ยนชื่ออำเภอมำบังเป็นอำเภอเมืองสตูล สำหรับอำเภอทุ่งหว้า ซึ่งในสมัยก่อนนั้นเจริญรุ่งเรืองมาก มีเรือกลไฟจากต่างประเทศติดต่อ ไปมาค้าขายและรับส่งสินค้าเป็นประจำ สินค้าสำคัญของอำเภอทุ่งหว้า คือ "พริกไทย" เป็นที่รู้จักเรียกตามกันในหมู่ชาวต่างประเทศว่า"อำเภอสุไหวอุเป " ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๕๗ การปลูกพริกไทยของอำเภอทุ่งหว้าได้ลดปริมาณลง ชาวต่างประเทศที่เข้ามาทำการค้าขายต่างพากันอพยพกลับไปยังต่างประเทศ ราษฎรในท้องที่ก็พากันอพยพไปหาทำเลทำมาหากินในท้องที่อื่นกันมาก โดยเฉพาะได้ย้ายไปตั้งหลักแหล่งที่กิ่งอำเภอละงูมากขึ้น ทำให้ท้องที่กิ่งอำเภอละงูเจริญขึ้นอย่างรวมเร็ว และในทางกลับกัน ทำให้อำเภอทุ่งหว้าซบเซาลง

ครั้ง ถึง พ.ศ. ๒๔๗๓ ทางราชการพิจารณาเห็นว่ากิ่งอำเภอละงูเจริญขึ้น มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นกว่าอำเภอทุ่งหว้า จึงได้ประกาศยกฐานกิ่งอำเภอละงูเป็นอำเภอ เรียกว่า อำเภอละงู และยุบอำเภอทุ่งหว้าเดิมเป็นกิ่งอำเภอทุ่งหว้า เรียกว่า กิ่งอำเภอทุ่งหว้า ขึ้นอยู่ในการปกครองของอำเภอละงู ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ กิ่งอำเภอทุ่งหว้าจึงได้รับสถานะเดิมกลับคืนมาเป็นอำเภอทุ่งหว้า
ปัจจุบันจังหวัดสตูล แบ่งการปกครองออกเป็น ๗ อำเภอ  คือ
๑. อำเภอเมืองสตูล
๒. อำเภอละงู
๓. อำเภอควนกาหลง
๔. อำเภอทุ่งหว้า
๕. อำเภอควนโดน
๖. อำเภอท่าแพ
๗. อำเภอมะนัง
http://www.satun.go.th/satun/91000/index.php/satun-profile/history-of-the-province

แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดสตูล

ชวนไปเที่ยวเมืองสตูล เมืองเล็กๆ น่ารัก ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยเสน่ห์ของธรรมชาติและวัฒนธรรม ที่นักเดินทางต้องไม่พลาดไปเยือนสักครั้ง
1.ถ้ำเลสเตโกดอน
  
ถ้ำเลที่มีความยาวที่สุดในประเทศไทย เพราะมีความยาวกว่า 4 กิโลเมตร  ส่วนคำว่า “สเตโกดอน” คือชื่อของช้างดึกดำบรรพ์ เนื่องจากมีการพบฟอสซิลของช้างสเตโกดอนในถ้ำแห่งนี้และพบหินรูปร่างแปลกตา จึงนำมาซึ่งการสำรวจถ้ำและค้นพบซากฟอสซิลอีกมากมายภายในถ้ำนี้  และตามผนังถ้ำเราก็ยังพอเห็นฟอสซิลของสาหร่ายทะเลอีกด้วย
การเดินทางไปเที่ยวถ้ำด้านหน่าจะพบกับสะพานแขวน และทางลงสู่ปากทางเข้าถ้ำเลสเตโกดอน นักท่องเที่ยวสามารถโดยสารเรือแคนูเป็นพาหนะพาเข้าไปชมทั้งความงามและความมหัศจรรย์ของถ้ำนี้
ภายในถ้ำเล สเตโกดอนนั้น นอกจากความสวยงามของหินต่างๆ ภายในถ้ำแล้ว ที่นี่ยังมีน่าสนใจอย่างเช่นฟอสซิลของซากพืช ซากสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่มีอายุโดยเฉลี่ยถึง 500 ล้านปีที่ยังหลงเหลืออยู่อีกด้วย เหมาะสำหรับคนรักการท่องเที่ยวแบบแอดเวนเจอร์และรักธรรมชาติอย่างยิ่ง
ที่ตั้ง : หมู่ 7 หมู่บ้านคีรีวง ตำบลทุ่งหว้า จังหวัดสตูล

2. สันหลังมังกร


หรือทะเลแหวกสันหลังมังกร คือคำเรียกขานเกาะแห่งหนึ่งของชาวชุมชนตันหยงโป จังหวัดสตูล ซึ่งเป็นสิ่งมหัศจรรย์กลางทะเลอันดามัน
ในยามน้ำทะเลลดลงจะดูเหมือนกระแสน้ำหลีกทางให้สันทรายโผล่ขึ้นมาซึ่งเป็นสันทรายที่เต็มไปด้วยซากเปลือกหอยนับหลายล้านตัวทับถมกัน ทำให้เกิดเป็นเส้นทางคดเคี้ยวยาวกว่า 3 กิโลเมตรสามารถเชื่อมไปยังอีกเกาะหนึ่งได้ หรือเปรียบเสมือนกับมังกรฟ้าถลาลงเล่นน้ำทำให้นักท่องเที่ยวได้เดินบนสันหลังมังกรที่เคลื่อนไหวพลิ้วอย่างสวยงาม จึงเป็นที่มาของชื่อหาดแห่งนี้
ทะเลแหวกสันหลังมังกร เป็นอีกหนึ่งโปรแกรมทัวร์ที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาดเพราะเดินทางสะดวก โดยนักท่องเที่ยวสามารถขึ้นเรือท่าเรือบ้านบากันเคย ตำบลตันหยงโปได้เลย และจะมีชาวบ้านชุมชนบากันเคยนำเรือหางยาวมาคอยให้บริการทุกวัน ใช้เวลาเดินทางเพียง 20 นาที
ที่ตั้ง : หมู่1 ตำบลตันหยงโป อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

3. อุทยานแห่งชาติตะรุเตา

ชาวบ้านรู้จักกันในอีกสมญานามว่าตำนานหมู่เกาะทะเลใต้เป็นอุทยานแห่งชาติที่ยังคงความงดงามและสมบูรณ์ของเกาะไว้ได้ จนได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโก้ให้เป็นมรดกแห่งอาเชียนในปี พ.ศ.2525
“ตะรุเตา” เป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำว่า “ตะโละเตรา” ในภาษามลายู แปลว่า มีอ่าวมาก ตะรุเตาเป็นอุทยานแห่งชาติที่อยู่ในทะเลอันดามันบริเวณช่องแคบมะละกา มหาสมุทรอินเดีย ทางด้านใต้ของเขตอุทยานแห่งชาติห่างจากชายแดนไทย-มาเลเซีย เพียง 4.8 กิโลเมตรประกอบด้วยเกาะน้อยใหญ่จำนวน 51 เกาะ รวมทั้งพื้นที่บนเกาะและทะเลประมาณ 931,250 ไร่ หรือ 1,490 ตารางกิโลเมตร
อุทยานแห่งชาติตะรุเตาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในความใฝ่ฝันของนักท่องเที่ยวเนื่องจากเป็นจุดรวมของความงามที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ ทั้งบนเกาะและในน้ำมีป่าที่อุดมสมบูรณ์เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิดในน้ำก็งดงามด้วยกลุ่มปะการังหลากสีสวยสด จนเป็นที่กล่าวขวัญกันไปทั่วโลก
ที่ตั้ง : อุทยานแห่งชาติตะรุเตา ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล

4.ถ้ำภูผาเพชร


ถ้ำขนาดใหญ่ติดอันดับ 4  ของโลก  มีเนื้อที่ภายในถ้ำกว่า 50 ไร่ ธรรมชาติได้รังสรรค์ความงามไว้อย่างน่าอัศจรรย์มีเพดานถ้ำสูงโปร่ง มีหินงอกหินย้อยสวยงาม ซึ่งมีอายุมากกว่าร้อยล้านปีจนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2541 นักโบราณคดีได้เข้าสำรวจบริเวณถ้ำตามคำเล่าของพระธุดงด์นามว่า”หลวงตาแผลง” ผู้ค้นพบถ้ำแห่งนี้
จากหลักฐานนักโบราณคดีได้สันนิษฐานว่า ถ้ำภูผาเพชรแห่งนี้น่าจะเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ประมาณ 3000 ปีมาแล้ว โดยพบหลักฐานทางโบราณคดี  กระดูกมนุษย์ยุคโบราณส่วนกะโหลกศีรษะ พบเศษภาชนะดินเผาเคลือบลายเชือกทาบ  ที่ก้นภาชนะมีเปลือกหอยยึดเกาะ
ภายในถ้ำจัดสรรแบ่งเป็นห้องต่างๆ  20 ห้อง มีไฟส่องสว่างตามทางเดิน มีการตั้งชื่อแต่ละห้องตามธรณีสัณฐานที่พบเห็นเช่น ห้องม่านเพชร  มีลักษณะคล้ายผ้าม่านแขวนเป็นหลืบซ้อนกัน ห้องพญานาค  มีหินงอกต่อตัวกันคล้ายงูใหญ่หรือพญานาค
ส่วนประเภทของหินงอกก็จะมีชื่อต่างๆ ตามรูปทรงที่พบเห็นมีมากถึง  31 แห่ง เช่น  ดอกเห็ด  ซุ้มประตู หัวแหวนเพชร สายน้ำเพชร หัวพญานาค เศียรพระ
ที่ตั้ง : บ้านป่าพน ตำบลปาล์มพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล

5.ถ้ำเจ็ดคต ล่องแก่งวังสายทอง


เป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่สวยงดงามน่าไปเยือนอีกหนึ่งในสตูล ถ้ำเจ็ดคตมีลักษณะคดเคี้ยว และทะลุผ่านภูเขา มีลำธารไหลผ่านภายในถ้ำ สามารถล่องเรือภายในถ้ำได้
ตลอดระยะทางเพื่อชมธรรมชาติและหินย้อยมีหาดทรายขาวระยิบระยับภายในถ้ำบริเวณมุมที่คดเคี้ยวคล้ายกับเพชรที่โปรยไว้ที่หาดทราย บริเวณหาดทรายสามารถกางเต็นท์ได้ อากาศเย็นสบาย ไม่อับชื้น ฤดูท่องเที่ยวประมาณเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม
ภายในถ้ำแบ่งเป็น 7 ช่วง มีบรรยากาศแตกต่างกัน นอกจากนี้ยังมีเส้นทางสำหรับล่องแก่ง โดยการใช้บริการของทัวร์หรือชมรมล่องแก่ง ซึ่งจะใช้เรือคายักและเรือยางเป็นพาหนะ เป็นกิจกรรมล่องแก่งเที่ยววังสายทอง อำเภอมะนัง เนื่องจากมีแม่น้ำหลายสายไหลแล้วก็มาบรรจบกันหลายจุด นักท่องเที่ยวที่ชอบการล่องแก่งควรมาในฤดูฝน
ที่ตั้ง : หมู่ 5 ตำบลปาล์มพัฒนา จากตัวเมืองสตูล

6.เกาะหลีเป๊ะ


เกาะงามแห่งทะเลอันดามัน ที่ได้รับการขนานนามว่ามัลดีฟส์เมืองไทย เกาะหลีเป๊ะอยู่ทางตอนใต้ของเกาะอาดัง สถานที่ท่องเที่ยวรอบเกาะหลีเป๊ะมีมากมาย เช่น แนวปะการังอยู่ด้านใต้ของเกาะมีและอ่าวเล็ก ๆ มากมาย โดยจะมีชาวบ้านคอยให้บริการเช่าเรือเพื่อท่องเที่ยวไปยังเกาะรอบๆ ซึ่งเต็มไปด้วยแนวปะการัง
บนเกาะหลีเป๊ะมีหาดพัทยา ซึ่งเป็นหาดที่มีความสวยงามที่สุดและนักท่องเที่ยวนิยมมาพักผ่อน นอนเล่นอาบแดด มีหาดซันไรซ์ ที่เป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นที่สวยงาม และเงียบสงบ และหาดซันเซ็ต ที่เป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกได้อย่างสวยงาม
นอกจากนี้ยังมีเกาะเล็กๆ อีกแห่งหนึ่งตรงข้ามกับหมู่บ้านคือ “เกาะกระ” เป็นเกาะที่ได้รับการอนุรักษ์แนวปะการังไว้อย่างดี เหมาะสำหรับการดำน้ำชมความสวยงามของแนวปะการัง
ที่ตั้ง : บ้านเกาะหลีเป๊ะ ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

7.เกาะอาดังและเกาะราวี


เป็นเกาะที่ตั้งอยู่ทางใต้สุดของประเทศไทยในเขตทะเลอันดามัน เป็นอุทยานแห่งชาติที่มีชื่อเสียงที่โด่งดังทางด้านธรรมชาติหมู่เกาะอาดังราวีเหมาะแก่การดำน้ำลึก แต่ก็สามารถดำบนผิวน้ำได้เช่นกัน เพราะน้ำทะเลค่อนข้างใส
สำหรับจุดดำน้ำลึก นั้นอยู่บริเวณร่องน้ำจาบังมีกองหินจาบังเป็นจุดหมายระหว่างเกาะอาดัง เกาะราวี และเกาะหลีเป๊ะ ลักษณะเป็นกองหินรูปทรงคล้ายภูเขา 5 ยอดอยู่ใต้น้ำ
นอกจากนี้ยังมีปะการังอ่อนหลากสีสันเหมือนสวนดอกไม้ใต้ท้องทะเลส่วนจุดดำน้ำที่มีชื่อเสียงคือ ร่องน้ำจาบังเป็นจุดที่สามารถดำน้ำแล้วเห็นปะการังอ่อนที่มักพบในจุดดำน้ำลึกได้เช่น ปะการังดาวใหญ่ ปะการังถ้วยสีส้ม ฯลฯ นอกจากนี้ยังพบดอกไม้ทะเล ปลาการ์ตูน ปลาดาวสีฟ้า ฯลฯ
หมู่เกาะอาดังราวี ยังมีแหล่งดำน้ำอื่น ๆ ที่สวยงามอีก เช่น เกาะหินงาม เกาะผึ้ง ซึ่งเหมาะการดำน้ำตื้น ทั้งยังมีจุดชมวิวทิวทัศน์ที่สวยงามคือ ผาชะโด ด้วย
ที่ตั้ง : หมู่เกาะอาดังราวีหมู่ 2  อำเภอละงู จังหวัดสตูล

8. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสตูล


จัดแสดงในคฤหาสน์กูเด็น สร้างขึ้นโดยพระยาภูมินารถภักดี หรือตวนกูบาฮารุตดิน บินตำมะหง เจ้าเมืองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่าง พ.ศ.2441-2459 เป็นสถาปัตยกรรมยุโรปแบบโคโลเนียล สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคราวเสด็จปักษ์ใต้ แต่มิได้ประทับแรมต่อมาจึงใช้เป็นบ้านพักและศาลาว่าการเมืองสตูล
จนกระทั่งในสงครามโลกครั้งที่ 2 ใช้เป็นกองบัญชาการทหารญี่ปุ่น สำนักงานเทศบาล ศาลากลางจังหวัดสตูล โรงเรียนเทศบาล 1 แล้วจึงใช้เป็นสำนักงานกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสตูลเป็นอาคาร 2 ชั้น หลังคาทรงปั้นหยา ผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส จัดแสดงนิทรรศการและส่วนบริการ 10 ห้องดังนี้
ห้องที่ 1 ห้องข้อมูลข่าวสารห้องที่ 2 ห้องภูมิหลังเมืองสตูลห้องที่ 3 ห้องประชาสัมพันธ์ห้องที่ 4 ห้องวิถีชีวิตชาวสตูลห้องที่ 5 ห้องจัดแสดงนิทรรศการชั่วคราวห้องที่ 6 ห้องบ้านเจ้าเมืองห้องที่ 7 ห้องเรือนชานชาวบ้านห้องที่ 8 ห้องรับแขกร่วมสมัยกูเด็นห้องที่ 9 ห้องวัฒนธรรมชาวไทย-มุสลิมห้องที่ 10 ส่วนชั้นดาดฟ้า
ที่ตั้ง : ถนนสตูลธานี ซอย 5 อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

9.เกาะบุโหลนเล

เป็นเกาะบรรยากาศเงียบสงบ นักท่องเที่ยวจึงสามารถสัมผัสวิถีชีวิตของชาวเกาะได้ที่หมู่บ้านชาวประมงเกาะบุโหลนเล ตั้งอยู่บริเวณอ่าวพังกาใหญ่และอ่าวพังกาเล็กทางด้านทิศเหนือของเกาะบุโหลนเล ที่เกาะบุโหลนเลแห่งนี้มีต้นไม้หลากหลาย  รวมไปถึงสัตว์ป่าเล็กๆ เช่นกระรอก นกเงือก หรือตัวตะกวดด้วย
ส่วนที่แนวเกาะทางด้านทิศใต้นั้นสามารถเดินทะลุออกมายังอ่าวม่วง อันเป็นที่ตั้งของหาดทรายรูปวงพระจันทร์ ซึ่งเป็นหาดที่แตกต่างออกไปจากหาดทรายที่อื่น ส่วนทางทิศตะวันออกของหาดม่วงมีลำห้วยเล็กๆ ของเกาะ
นักท่องเที่ยวสามารถนั่งเรือชมรอบเกาะได้ในระยะเวลาที่ไม่นาน ซึ่งมีจุดที่น่าสนใจที่ไม่สามารถเข้าถึงได้โดยทางเท้าเช่น ถ้ำรูจมูก อ่าวพังกาน้อยถ้ำค้างคาวทางด้านทิศตะวันตกของเกาะ
ที่ตั้ง : อ.ละงู จ.สตูล

10.เกาะเภตรา

มีทิวทัศน์ทางทะเลสวยงาม มีปะการังและหาดทรายขาวสะอาดมีโขดหิน หน้าผา ถ้ำ และเขาหินปูนรูปร่างแปลกตาทั้งเป็นที่วางไข่และอยู่อาศัยของเต่าทะเลหลายชนิด
สภาพภูมิประเทศของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตราส่วนใหญ่เป็นเกาะเขาหินปูนที่มีความลาดชันสูง มีที่ราบเพียงเล็กน้อยในบริเวณที่เป็นหุบเขาและชายหาด
ประกอบด้วยเกาะมากกว่า 22 เกาะกลางท้องทะเลอันดามัน เรียงรายกระจัดกระจายตั้งแต่เขตอำเภอละงู อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล เรื่อยไปจนจรดอำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งทะเลและเกาะน้อยใหญ่  เหมาะสำหรับการมาดำน้ำและพักผ่อนแบบเงียบสงบ
ที่ตั้ง : อำเภอทุ่งหว้าและอำเภอละงู จังหวัดสตูล
http://www.citieshiddengemsthailand.com